ความสำคัญของแร่ธาตุต่างๆสำหรับมนุษย์

ความสำคัญของธาตุออกซิเจน
  เป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่าประชาชนชาวศิวิไลซ์ทั่วโลก เสียชีวิตอันดับหนึ่งด้วยโรคหัวใจ อันดับสองมะเร็ง อันดับสามโรคเกี่ยวกับเส้นเลือด นอกจากนี้ยังต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคกระดูกผุ ข้อต่อกระดูกอักเสบ แถมด้วยโรคเหงือกและฟัน ในประเทศสหรัฐอเมริกา อันดับสี่ของการเสียชีวิตด้วยโรคอัลไซเมอร์ (โรคความจำเสื่อมชนิดหนึ่ง) ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่ทุกข์ทรมานที่สุดในขณะนี้ โรคต่างๆ เหล่านี้ไม่ปรากฏให้เห็นในชาวฮันซา
ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยธาตุประมาณ 30 ธาตุ เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้
1. ออกซิเจน
65%
7. โปแทสเซียม
0.35%
2. คาร์บอน
18%
8. ซัลเฟอร์
0.25%
3. ไฮโดรเจน
10%
9. โซเดียม
0.15%
4. ไนโตรเจน
3%
10. คลอรีน
0.15%
5. แคลเซียม
1.5-2.2%
11. แมกนีเซียม
0.05%
6. ฟอสฟอรัส
0.8-1.2%
12. ฟลูออไรด์
0.004%

   ธาตุที่สำคัญที่สุดคือธาตุออกซิเจน ร่างกายเรามีมากที่สุดถึง 65% เราได้ธาตุออกซิเจนจาก 2 ทางคือ จากการหายใจและการบริโภคอาหาร  เราหายใจเอาก๊าซออกซิเจนจากอากาศเข้าไปทำการฟอกเลือดที่ปอดเพื่อให้ได้เลือดที่บริสุทธิ์ ตรงนี้สำคัญมาก คนจีนโบราณกล่าวกันว่า เลือดบริสุทธิ์อายุยืนเกินร้อยปีและมีความสุข เลือดไม่บริสุทธิ์อายุสั้นและอยู่อย่างทุกข์ทรมาน สมองจะขาดออกซิเจนได้ไม่เกิน 1 นาที สมองที่ขาดออกซิเจนแค่ 10-30 วินาที จะเกิดอาการช็อก หากนาน 1-2 นาทีอาจเสียชีวิตได้ แต่ถ้าฟื้นขึ้นมาสมองนั้นจะไม่สามารถทำงานได้เป็นปกติอีกต่อไป ก๊าซออกซิเจนจึงสำคัญที่สุด
   อีกทางหนึ่งคือการบริโภคอาหาร เรารับประทานอาหารเพราะต้องการธาตุต่างๆ ซึ่งธาตุออกซิเจนมีอยู่ทั่วไปในอาหารทุกชนิด ในน้ำดื่มมีธาตุออกซิเจนอยู่ 89% โดยน้ำหนัก
   ความจริงแล้วร่างกายเราไม่ได้ขาดแคลนธาตุออกซิเจนเลย แต่ที่เราป่วยกันมากในทุกวันนี้เพราะเราได้รับธาตุออกซิเจนที่ไม่บริสุทธิ์ ข้อนี้คือสาเหตุหลักของความเจ็บป่วยเลยทีเดียว สารพิษต่างๆ ที่ปะปนมาในอากาศและอาหารประกอบกับพฤติกรรมในการบริโภคที่เบี่ยงเบนไปจากธรรมชาติ จึงทำให้ร่างกายขาดความสมดุลมีผลทำให้เจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนอายุขัยที่แท้จริง หลายสิบปีทีเดียว

ความสำคัญของธาตุแคลเซียม
มีธาตุแคลเซียม 99% อยู่ในกระดูกและฟัน อีกประมาณ 1% อยู่ในเลือด กระดูก มีความสำคัญอย่างมาก โพรงกระดูกตรงกลางภายในคือไขกระดูก(Bone Marrow) ซึ่งเป็นแหล่งผลิตเนื้อกระดูก มีชิ้นกระดูกเล็กๆ เกาะเกี่ยวติดกันเหมือนเป็นฟองน้ำ(Spongy Bone) ทำหน้าที่ควบคุมความสมดุลของเกลือแร่ต่างๆ(Cortical Bone) หนาและแข็งทำหน้าที่เป็นโครงร่าง(Skeleton, Framework) ให้กล้ามเนื้อยึดเกาะ
  การขาดแคลเซียมทำให้เป็นโรคกระดูกบางคือ กระดูกชิ้นเล็กๆเหมือนฟองน้ำและขอบนอกของกระดูกบางลง นานไปจะเกิดมีโพรงช่องว่างขยายขนาดขึ้นเป็นโรคกระดูกพรุน(Osteoporosis) มีผลทำให้กระดูกเปราะบางและหักได้ง่าย คนไทยสูงอายุไปโรงพยาบาลสาเหตุอันดับสองคืออุบัติเหตุหกล้มกระดูกหัก และโรคข้อต่อกระดู(อันดับหนึ่งคือโรคเกี่ยวกับนัยน์ตา) คนสูงอายุมีปัญหาเกี่ยวกับการเดินเป็นส่วนมากหากเมื่อเดินไม่ได้จะเสียชีวิตเร็วขั้น
  นอกจากนี้การขาดแคลเซียมยังทำให้ระบบอื่นๆทำงานบกพร่อง เช่น การทำงานของกล้ามเนื้อที่สำคัญคือกล้ามเนื้อหัวใจ การสร้างสารถ่ายทอดทางสัญญาณของเซลล์ประสาทคือ สารอะซิติน โคลีน  การกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์หลายชนิด เช่น ไลเปสจากตับอ่อน การกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมน เช่น จากต่อมหมวกไต และการแข็งตัวของเลือดเมื่อเกิดบาดแผล เป็นต้น
  ในประเทศไทยพบว่าอาหารที่รับประทานในแต่ละวันมีธาตุแคลเซียมเฉลี่ย 360-400 มิลลิกรัม
ความต้องการแคลเซียมต่อวันของคนไทยมีดังนี้
เด็ก
600-1000
มิลลิกรัม
วัยรุ่น
1000-1200
มิลลิกรัม
ผู้ใหญ่
800-1000
มิลลิกรัม
สตรีวัยหมดประจำเดือน
1200-1400
มิลลิกรัม

จะเห็นได้ว่าคนไทยขาดแคลนแคลเซียมทุกระดับอายุ คือขาดแคลเซียมกันทุกคน
รัฐบาลสหรัฐอเมริกาแนะนำให้ประชาชนรับประทานแคลเซียมเสริมวันละ 1,500 มิลลิกรัม แต่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียบอกว่าต้องเสริมแคลเซียมวันละ 2,400 มิลลิกรัม จึงจะเหมาะสมกว่า เพราะผู้ที่บริโภคเนื้อสัตว์มากร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมไปใช้ได้แค่ 20-30% เท่านั้น การรับประทานเนื้อสัตว์ที่มากเกินไปทำให้เสียการสมดุลของแคลเซียม ประชากรของโลกทั้งหมดจึงขาดแคลเซียม แคลเซียมในเส้นเลือดต้องเป็นปกติร่างกายจึงจะทำงานได้ดี เลือดจึงมีขบวนการไปดูดแคลเซียมให้ออกมาจากกระดูก มนุษย์เรามีกระดูกทั้ง 208 ชิ้น จึงขาดแคลเซียมโดยเฉพาะกระดูกสะโพกกระดูกสันหลัง กระดูกซี่โครง และกระดูกข้อมือ คนอายุ 45 ปีขึ้นไป จะเริ่มมีอาการปวดหลัง 2-3 วัน และเป็นๆ หายๆ ไปเรื่อยๆ นั่นคืออาการของกระดูกสันหลังยุบตัวภายใน ทำให้ความสูงประมาณ 1-2 มิลลิเมตรต่อปี ต่อไปจะมีอาการหลังโก่ง หลังโค้ง คนไทยสูงอายุส่วนมาก กระดูกสันหลังเสียกันเป็นส่วนใหญ่ เวลานอนต้องนอนตะแคงข้างเพราะนอนหงายไม่ได้ ฟันในปากก็หลุดร่วงไปหมด การเสริมอาหารด้วยแคลเซี่ยมอย่างเดียวก็ไม่เพียงพอต่อร่างกาย เพราะขาดความสมดุลของแคลเซียม ที่มีสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมที่บริโภคเนื้อสัตว์เกินขนาดนั่นเอง
ธาตุคาร์บอนแลไนโตรเจน แม้จะมีปริมาณมากในส่วนประกอบของร่างกาย แต่ร่างกายก็ไม่เคยขาดแคลน นอกจากนี้ธาตุอื่นๆ ยังพบได้ในอาหารทั่วไปความสมดุลของธาตุทั้งหลายบกพร่อง ไปนั้น มีสาเหตุหลักจากการบริโภคเนื้อสัตว์จนล้นเกินปริมาณที่เหมาะสม เช่น เนื้อสัตว์ในท้องตลาดทุกวันนี้มีธาตุฟอสฟอรัสมากเป็น 8-20 เท่าของแคลเซียม ฟอสฟอรัสจะรวมตัวกับแคลเซียมในอัตราส่วนที่เหมาะสม (ฟอสฟอรัส 1 ส่วน ต่อแคลเซียม 2 ส่วน) เป็นองค์ประกอบของกระดูก หากร่างกายได้รับฟอสฟอรัสมากเกินไปทำให้กระดูกต้องปล่อยแคลเซียมออกมาจับกับฟอสฟอรัส ผลกลายเป็นว่าร่างกายเราต้องสูญเสียแคลเซียมจากกระดูกไป คือการขาดความสมดุลขั้นต้น ขั้นต่อไปเมื่อร่างกายเสริมอาหารด้วยแคลเซียม จะมีผลทำให้ขาดความสมดุลของธาตุสังกะสี เมื่อเสริมด้วยธาตุสังกะสีก็จะขาดความสมดุลของธาตุทองแดง ดังนี้
วิธีการแก้ไขอย่างง่ายคือ ลดการบริโภคเนื้อสัตว์ลงในอัตราส่วนที่เหมาะสมเท่านั้นเอง เป็นวิธีการของชาว “ฮันซา”


ปรึกษาเพื่อดูแลสุขภาพ
คุณโตหนุ่ม  นิติพัฒน์ หรือ คุณพัช  พลอยนภัส
โทร. 082-4787900,089-4004286,089-4004296